ประวัติดนตรี




ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ให้แก่ตน หรือเพื่อเป็นการบูชา แสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
โลกได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ดนตรีก็ได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีในสมัยเริ่มแรกที่เคยใช้ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพลงที่เคยร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนาและ เพลงร้องโดยทั่วๆ ไปเป็นต้น
ในระยะแรกๆ นั้นดนตรีมีอยู่เพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราจึงเริ่มรู้จักใช้เสียงต่างๆ มาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายๆ เสียงขึ้นมา
นับแต่นั้นเป็นต้นมา นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

    1.Polyphonic Period (ค.ศ. 1200-1650) ยุคนี้นับว่าเป็นยุคแรกและได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชาการดนตรีขึ้น มีวงดนตรีอาชีพ ตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี

   2.Baroque Period (ค.ศ.1650-1750) ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่นมีแบบแผน ความเจริญทางด้านนาฏดุริยางค์ (Dramatic Music) มีมากขึ้น ยุคนี้มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (Opera) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่าน เป็นผู้นำในยุคนี้ คือ J.S.Bach และ G.F.Handel.


 3.Classical Period (ค.ศ. 1750-1820)ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่
มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก ท่าน เป็นผู้นำยุคนี้คือ Haydn Gluck และ Mozart

4.Romantic Period (ค.ศ. 1820-1900) ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัด มี Beethoven และยังมีนักดนตรีเอกของโลกคนอื่นๆ อีก เช่น Schubert Mendelssohn, Schumann, Chopin, Paganini, Liszt,Brahms และ Wagner เป็นต้น ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด นับเป็น "ยุคทองของดนตรี"The Romantic period

5.Modern Period(ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน) ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมากดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

ยุคแรก คือตั้งแต่ ปี ค.ศ.1200-ค.ศ.1650  จะเรียกกันว่า Polyphonic Period ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  จนมีต้นแบบฉบับ และมีหลักในการเรียนวิชาดนตรี มีโรงเรียนสอนดนตรี ยุคนี้ก็จะเริ่มมีวงดนตรี เกิดขึ้นมากพอสมควร วงดนตรียุคนี้ส่วนมากจะเล่นในโบสถ์ หรือตามบ้านเจ้านาย
                โรแมนติก เพลงของยุคนี้เป็นแบบเพ้อฟัน เห็นภาพชัดเจน และไม่มุ่งเน้นถึงแบบแผน กฏเกณฑ์อะไรมากมายนัก นักแต่งเพลงที่สำคัญได้แก่
                F.P.Schubert นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ผู้แต่งเพลงที่มีค่าไว้มากมายได้แก่ ซิมโฟนีต่างๆ โซนาตา และเพลงร้องที่ไพเราะมากมาย
               F.F.Chopin นักแต่งเพลงเอกชาวโปแลนด์ คนนี้เป็นนักเปียโนเอกที่เก่งมากๆ แต่งเพลงเปียโนที่หวานซึ้งไว้มากมาย เนื่องจากที่เขาเป็นคนรักชาติมาก จึงได้แต่งเพลงที่แฝงสำเนียงโปลเอาไว้ด้วย(polonese) และเพลงอื่นๆที่ไพเราะของเขาเช่น valses, mazurkas , perlude, fantasia ,etude(เพลงฝึกหัด), nocturn เป็นต้น
               F.Liszt นักแต่งเพลงเอกชาวฮังกาเรียน ท่านนี้เป็นผู้ที่ให้ความอุปการะแก่นักแต่งเพลงต่างๆมากมาย เช่น ตอนที่โชแปงอบยพมาฝรั่งเศสใหม่ๆท่านก็ได้ทำให้โชแปงแจ้งเกิด และท่านก็เป็นผู้รับรองต่อศาลให้ โรเบิร์ต-คลารา ชูมานน์ ได้แต่งงานกัน และยังเป็นผู้อุปการะวากเนอร์อีกด้วย ท่านได้แต่งเพลงต่างๆไว้มากมายและได้วางรูปแบบเพลงใหม่ๆ เช่น symphonic poem และท่านได้แต่งเพลงที่มีรูปแบบอันเป็นทางของเพลงสมัยใหม่ เพลงที่สำคัญได้แก่ sonatas, nocturns , rhypsody , etude ,valse ,concertos นักแต่งเพลงที่สำคัญอื่นๆ ยังมีอีก เช่น J. Brahms , R.Schumann เป็นต้น
                ยุคใหม่ เพลงยุคนี้มีหลายประเถท ได้แก่ ประเภทimpression ที่นำความประทับใจมาแก่ผู้ฟัง เพลงยุคนี้เน้นถึงความเป็นจริง ถ่ายทอดออกมาชัดเจน บางทีอาจมีการประชดประชันสังคม นักแต่งเพลงที่สำคัญได้แก่
               C.Debussy ผู้แต่งบทเพลงอิมเพรชชั่นไว้มากมายเช่น เพลงclair de lune(แสงจันทร์),        la mer (ทะเล)
                M.Ravel ผู้แต่งเพลง On dien (นางพรายน้ำ) และท่านได้นำผลงาน Picture at the exhibition ของมูสซอกกีมาทำเป็นเวอร์ชันออเคสตราได้อย่างสง่างาม
               P.I.Tchaikovsky ผู้แต่งเปียโนคอนแชร์โตที่ไพเราะสง่างามที่สุดบทหนึ่งให้แก่โลก และยังมีผลงานบัลเล่ต์อีกมากมาย เช่น The Nutcracker , Swan lake
              S.Rachmaninov ผู้ที่แต่งเพลงเปียโนอันสง่า ขรึม ปนหวาน เศร้า ไว้อย่างมากมาย ดังที่ปรากฎในคอนแชร์โตหมายเลข 2 และ3 ของท่าน 

                ยุคบาโรก  เพลงจากยุคนี้จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างเป็นแบบแผน เน้นรูปแบบในการแต่ง เช่น cantata (เพลงศาสนา), toccata ,prelude and fugue, invention , concerto เป็นต้น
คีตกวีที่สำคัญได้แก่
               G.F.Handel นักแต่งเพลงเอกชาวเยอรมันที่ย้ายไปอยู่ที่อังกฤษ ท่านได้แต่งเพลงไว้มากมาย ที่สัคัญได้แก่ เพลงสวด เพลงศาสนาต่างๆ และเพลงที่ใช้ในพิธีกรรม
              J.S.Bach นักแต่งเพลงเอกชาวเยอรมัน ผู้สร้างผลงานไว้มากมาย เพลงประเภทคีย์บอร์ดของบาคเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่นักเปียโนทุกคนต้องฝึกฝนได้แก่ prelude and fugue , 2-part invention , 3-part invention (sinphonia ต่อมาเป็นแวทางของการวางรูปแบบซิมโฟนี) เพลงของบาคนั้นเป็นแบบฝึกนิ้วที่ดีมากและจะฝึกฝนเทคนิกของผู้เล่นได้ดี (เพลงของบาคได้สาบสูญไปจน Mendelssohn ได้มาค้นพบ แล้วลื้อฟื้นจนเป็นที่นิยมเล่นอีกครั้ง)

                ยุคคลาสสิก เพลงของยุคนี้ ค่อนข้างเป็นแบบแผนพอสมควร แต่ก็ได้รับการพัฒนามาจากยุคบาโรก เช่น เพลงประเภท symphony , sonata , sonatina ,fantasia , serenade, concerto
              W.F.Mozart นักแต่งเพลงเอกชาวออสเตรียน ผู้แต่งเพลงไว้เยอะมาก บุคลิกเพลงของโมสาร์ทค่อนข้างสดใสและสนุกสนานฟังง่าย เป็นที่นิยมเล่นกันอย่างมาก เพลงเปียโนที่สำคัญได้แก่ sonatas , concertos
             F.J.Hydn คนนี้เป็นเพื่อนรักกับโมสาร์ทซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งซิมโฟนี เพราะท่านแต่งซิมโฟนีไว้เยอะมาก และท่านเป็นผู้ที่วางรูปแบบมาตรฐานของวงออเคสตราที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
             L.v.Beethoven นักแต่งเพลงเอกชาวเยอรมัน ท่านนี้ช่วงแรกของชีวิตได้แต่งเพลงแบบคลาสสิก แต่ช่วงท้ายท่านได้แต่งเพลงแนวโรแมนติก เพลงที่สำคัญของท่านได้แก่ โซนาตาต่างๆ , เปียโนคอนแชร์โตทั้ง 5 ,ซิโฟนีทั้ง 9 และเพลงต่างๆที่ทรงค่าอย่างมากมาย
ดนตรีคลาสสิคสามารถแบ่งออกเป็นช่วงยุคดังนี้
1.ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง (Medieval European Music พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943)
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง เป็นดนตรีที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ
2. ดนตรียุคเรเนสซองส์ (Renaissance Music พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143)
นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น
 3. ดนตรียุคบาโรก (Baroque Music พ.ศ. 2143- พ.ศ. 2293)
ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาควิวัลดิ เป็นต้น
  4. ดนตรียุคคลาสสิค (Classical Period Music พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363)
เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศุนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์(Mannheim) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ทเป็นต้น


  5. ดนตรียุคโรแมนติค (Romantic Music พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังความเบา และจังหวะ ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโธเฟนชูเบิร์ตโชแปงไชคอฟสกี เป็นต้น
 6. ดนตรียุคศตวรรษที่ 20 (20th Century Calssical Music พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2543)
นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อนๆ จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น(Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่า แบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี เป็นต้น
·            7. ดนตรียุคปัจจุบัน (ช่วงทศวรรษหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน)




1 ความคิดเห็น: